วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติจังหวัดเพชรบูรณ์


ประวัติ ความเป็นมา 

คนเพชรบูรณ์เดิมแล้วมาจากหลวงพระบาง
ภาษาที่พูดไม่ใช่อีสาน 
แต่คือภาษาลาวหลวงพระบาง
อพยพโดยการเดินล่องลงมา เมื่อครั้งศึกในสมัยรัชกาลที่ 4 สายหนึ่งไปทางตะวันออกเฉียงใต้
อีกสายหนึ่งลงใต้มาตามเทือกเขาเพชรบูรณ์

ทวดของเราเกิดเมื่อปี 2400 เดินมาจากหลวงพระบาง ถือวรรณคดีเรื่อง สุริวงศ์ (เหมือนรามเกียรติ์ฉบับลาว) เป็นใบลาน 800 ใบ หิ้วมาด้วย 
คนหล่มเก่าคือเชื้อสายลาวหลวงพระบาง
คนหล่มสักและหล่มเก่าน่าจะมาจากทั้งหลวงพระบางและเวียงจันทร์แยกกันอยู่เป็นหม่บ้านสังเกตุสำเนียงแต่ละหมู่บ้านจะไม่ค่อยเหมื่อนกัน คนที่มาจากเวียงจันทร์มักจะมีนามสกุลที่มีคำว่าจันทร์อยู่ด้วยครับและภาษาพูดจะเน่อมากกว่า กลุ่มที่มาจากหลวงพระบาง แต่ปัจจุบันก็ผสมปนกันไป นี่เป็นแค่ข้อสังเกตุนะครับ



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติเพชรบูรณ์

ประวัติเพชรบูรณ์

จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นเมืองโบราณ ที่ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าใครสร้างเมืองนี้ขึ้นเมื่อใดสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชา นุภาพทรงวิเคราะห์ว่า เพชรบูรณ์สร้างขึ้นมา 2 ยุค ในแห่งเดียวกัน วัดมหาธาตุและวัดโบราณเป็นหลักฐานยืนยันว่า ยุคแรกสร้างเมื่อ เมืองเหนือคือ กรุงสุโขทัย หรือ พิษณุโลกเป็นเมืองหลวง มีลำน้ำอยู่กลางเมือง กำแพงเมืองกว้างยาวด้านละ 800 เมตร ยุคที่สอง สร้างในสมัย สมเด็จพระนารายณ์ มหาราช มีป้อมและกำแพงก่อด้วยอิฐปูนศิลา แต่เล็กและเตี้ยกว่า มีแม่น้ำอยู่กลางเมือง กำแพงเมือง ขนาดเล็กลง ตั้งอยู่ทางป่าด้านเหนือ เพื่อป้องกันศัตรู ส่วนทางด้านใต้เป็นไร่นา จากหลักฐานการค้นพบซากโบราณสถาน และจากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ ที่ค้นพบ ในเมืองศรีเทพ เพชรบูรณ์ มีอายุมากกว่า 1,000 ปี สร้างขึ้นในระยะเวลาใกล้เคียงกับเมือง พิมาย. ลพบุรี และจันทบุรี ดังหลักฐานที่ประกฎ เช่น ซากตัวเมืองและพระปรางค์ บริเวณที่ตั้งเมือง เป็นที่ราบ มีกำแพงดินสูงรอบเมือง และล้อมรอบ ด้วยคูเมือง ภายในเมืองมีพระปรางค์ ซากเทวสถาน รูปเทพารักษ์ พระนารายณ์ รูปยักษ์สลักด้วยศิลาแลง เช่นเดียวกับเมืองพิมาย ลพบุรี และจันทบุรี จึงเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าเป็นฝีมือของขอมที่ได้รับอารยธรรมจากอินเดีย
สมัยสุโขทัย
ในสมัยสุโขทัยลายพระหัตถ์เกี่ยวกับเพชรบูรณ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และสมเด็จ พระเจ้า บรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงค์ มีความว่าเดิมจะตั้งชื่อเมืองเพชรบูร. ให้ใกล้เคียงกับเพชรบุรี แปลว่า เมืองแข็ง แต่ชื่อ อาจใกล้เคียงกันมากเกินไป จึงตั้งชื่อว่าเพชรบูรณ์ สันนิษฐานว่าตั้งชื่อรุ่นเดียวกับเมืองพิษณุโลก คำว่าเพชรบูรณ์ อาจมาจาคำว่าพืช ในประเทศอินเดียมีเมืองโบราณชื่อ bijure เทียบได้กับพืชปุระ
ชื่อเมืองเพชรบูรณ์เขียนได้ 2 แบบ คือ เพชรบูรณ์ และ เพชรบูร จากศิลาจารึกสมัยสุโขทัย (หลักที่ 53 ) จากวัดอโศการาม ( พ.ศ. 1949 ) มีข้อความอ้างอิงถึงจังหวัดเพชรบูรณ์ดังนี้
" รัฐมณฑลกว้างขวาง ทั้งปราศจากอันตรายและนำมาซึ่ง ความรุ่งเรือง รัฐสีมาของพระราชาผู้ทรง บุญญสมภาคองค์ นั้น เป็นที่รู้จักกันอยู่ว่า ในด้านทิศตะวันออกทรงทำเมืองวัชชะปุระเป็นรัฐสีมา ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทรงทำเมืองเชียงทอง เป็น รัฐสีมา..." 
จากศิลาจารึกนี้ ชื่อเมืองเพชรบูรณ์อาจจะมาจากคำว่าบุระหรือปุระ แปลว่า ป้อม หอวัง ส่วนคำว่าบูรณ์ มาจากคำว่า ปูรณ แปลว่าเต็ม นายตรี อมาตกุล อธิบายว่า เมืองเพชรบูรณ์อาจจะเป็นเมืองราดก็ได้ แต่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ หลักฐานโบราณคดี ชี้ชัดว่า เมืองเพชรบูรณ์ เป็นรัฐสีมาของสุโขทัย ได้แก่ พระเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ซึ่งพระประธานของวัด มหาธาตุของสุโขทัยและเมืองอื่นๆ ซึ่งจัดว่าเป็นพุทธสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ และในการขุดค้นทางโบราณคดี ที่พระเจดีย์ ทรงดอกบัวตูม ที่วัดมหาธาตุ เมืองเพชรบูรณ์ของกรมศิลปกร เมื่อพ.ศ. 2510 ค้นพบศิลปวัตถุจำนวนมาก เช่น เครื่องสังคโลก ของไทย และเครื่องถ้วยกับตุ๊กตาจีน
สมัยอยุธยา




ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติเพชรบูรณ์




     ในสมัยอยุธยา กฎหมายที่ตราขึ้นในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ว่าด้วยการเทียบศักดินาสำหรับข้าราชการ ที่มียศ สูงสุดมีศักดินาหนึ่งหมื่น ได้แก่ ฝ่ายทหาร จำนวน 12 ตำแหน่ง มีพระยาเพชรรัตน์สงคราม ตำแหน่งประจำเพชรบูรณ์ด้วย สมัยสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิ แห่งกรุงศรีอยุธยา (สมเด็จพระมหาธรรมราชา) ได้ทำสัมพันธไมตรีกับ พระไชยเชษฐาธิราช แห่งนครเวียงจันทน์ เพราะเกรงว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาจะยกทัพมาตี สมเด็จพระมหาธรรมราชา พระไชยเชษฐาธิราช ได้ปฏิบัติตามสัญญาพันธมิตร ณ เจดีย์ศรีสองรักษ์ อีก 5 ปีต่อมาพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง ทัพพระไชยเชษฐา ส่งกองทัพมาช่วย ทางด่านเมืองนครไทย เข้ามาทางเมืองเพชรบูรณ์ ผ่านมาทางเมืองสระบุรีเวลารบนาน 9 เดือน จึงเสียกรุงศรีอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2100 สมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชา ที่กล่าวถึงเมืองเพชรบูรณ์ดังต่อไปนี้ พระยาละแวก เจ้าแผ่นดินเขมร ยกทหารมา 3 หมื่นคน เข้ามาทาง เมืองนครนายก สมเด็จพระมหาธรรมราชาเกรงว่าจะตั้งรับทัพเขมรไม่ได้ เพราะถูกพระเจ้าหงสาวดี กวาดต้อนเอาทหารและอาวุธไป เมื่อกรุงแตกสมเด็จพระมหาธรรมราชาทรงมีบัญชา ให้ขุนเทพอรชุน จัดเตรียมเรือพระที่นั่งและเรือ ประทับเสด็จไปที่เมืองพิษณุโลก เพื่อให้พ้นศัตรูก่อน ขณะนั้นพระเพชรรัตน์ เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ มีความผิด จึงถูกปลดออกจากตำแหน่ง มีข่าวลือไปถึงเมืองหลวงว่า พระเพชรรัตน์โกรธ และคิดซ่องสุมคนเพื่อ ดักปล้นกองทัพ หลวง สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึง ไม่เสด็จไปที่พิษณุโลก และตีทัพ พระยาละแวกแตกไป ในสมัยพระมหาธรรมราชา ยังได้กล่าวถึง จังหวัดเพชรบูรณ์อีกว่า มีไทยใหญ่ที่เมืองกำแพงเพชรอพยพหนีพม่า และมอญมุ่งไปทางเมืองพิษณุโลก ทรงเกรง ว่าเป็นพวกอื่น ปลอมปนมาด้วย จึงอายัดด่านเพชรบูรณ์ เมืองนครไทย ชาติตระการและซา ไม่ให้ไทยใหญ่หนีไปได้
สมัยธนบุรี
พ.ศ. 2218 เจ้าพระยาจักรีและเจ้าพระยาสุรสีห์ได้นำกองทัพ ตีแตกทัพ อะแซ หวุ่นกี้ (พม่า) ที่ล้อมเมืองพิษณุโลก ออกมาได้ และมาชุมนุม พักทัพที่เมืองเพชรบูรณ์
สมัยรัตนโกสินทร์
จากบทความ ในหนังสือนิทานโบราณคดี พระนิพนธ์ ของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงกล่าวถึงเมือง ศรีเทพและเมืองเพชรบูรณ์ว่า ขณะที่เป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงไปสืบเมืองโบราณ และไม่มีใครรู้ว่าเมืองศรีเทพ อยู่ที่ใด ได้พบสมุดดำเป็นหนังสือให้คนเชิญตรา ไปบอกข่าวเรื่องการสิ้นรัชกาลที่ 2 ตามหัวเมืองสระบุรี เมืองชัยบาดาล เมืองศรีเทพและ เมืองเพชรบูรณ์ สำหรับพระราชพงศวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 4 ของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ เรื่องทรงตั้งและแปลงนามเจ้าเมือง กรมการ ซึ่งมีว่า เจ้าเมืองเพชรบูรณ์ คือพระเพชรพิชัยปลัดแปลงเป็นพระเพชรพิชภูมิ หลักฐานที่ชัดเจน เป็นพระราชนิพนธ์นิทาน โบราณคดีของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเรื่องคนไข้เมือง เพชรบูรณ์ มีว่า เมืองเกิดไข้มาลาเรียระบาดอย่างร้ายแรง ที่เมืองเพชรบูรณ์ไม่มีผู้ใดอาสาไปรับราชการ ด้วยความกลัวไข้ ท่านจึงเสด็จไป ตรวจราชการที่เมืองเพชรบูรณ์ เองเพื่อแสดงให้เห็นว่า ไข้มาลาเรียไม่ได้ร้ายแรง อย่างเช่นที่กลัวกัน ขณะที่เตรียมตัว ออกเดินทางก็มีคนห่วงใย มาส่งและให้พรคล้ายกับจะไปทำการรบ เมื่อเสด็จถึง เมืองเพชรบูรณ์ ทรงกล่าว ว่า " ฉันไปถึงเมืองเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ท้องที่มณฑลเพชรบูรณ์ บอกแผนที่ ได้ไม่ยาก ถือลำแม่น้ำป่าสัก เป็นแนวแต่เหนือลงมาใต้มีภูเขาสูงเป็นเทือกเขาลงมา ตามแนวลำน้ำทั้งสอง ฟากเทือกข้างตะวันออก เป็นเขาปันน้ำ ต่อแดน มณฑณ นครราชสีมา เทือกเขาตะวันตกเป็นเขาต่อ แดนมณฑลพิษณุโลก เทือกเขาทั้งสองข้างบางแห่งก็ห่าง บางแห่งก็ใกล้ แม่น้ำป่าสัก เมืองหล่มสักที่อยู่สุดลำน้ำทางข้างเหนือ แต่ลงมาถึงเมืองเพชรบูรณ์ตรงที่ตั้งเมืองเพชรบูรณ์ เทือกเขาเข้ามา ใกล้ลำน้ำดูเหมือนจะไม่ถึง 400 เส้น แลเห็นต้นไม้บนภูเขาถนัดทั้ง 2 ฝั่ง ทำเลที่เมืองเพชรบูรณ์ตอนริมน้ำเป็นที่ลุ่ม ฤดูน้ำ น้ำท่วมแทบ ทุกแห่ง พ้นที่ลุ่มขึ้นไปเป็นที่ราบ ทำนาได้ผลดีเพราะอาจจะขุดเหมืองชักน้ำจากห้วยเข้านาได้เช่นเมืองลับแล พ้นที่ราบขึ้นไป เป็นโคกสลับ กับแอ่งเป็นหย่อม ๆ ไปจนถึงเชิงเขาบรรทัด บนโคกเป็นป่าเต็งรังเพาะปลูกอะไรอย่างอื่นไม่ได้ แต่ตามแอ่งน้ำ เป็นที่น้ำซับ เพาะปลูกพันธ์ไม้ งอกงามดี เมืองเพชรบูรณ์จึงสมบูรณ์ ด้วยกสิกรรม จนถึงชาวเมืองทำนา ครั้งเดียวก็ได้ข้าวพอกินกันทั้งปี สิ่งซึ่งเป็น สินค้า เมืองเพชรบูรณ์ ก็คือ ยาสูบ เพราะรสดีกว่ายาสูบ ที่อื่นทั้งหมด ในเมืองไทย ชาวเมืองเพชรบูรณ์ จึงหาผลประโยชน์ ด้วยการปลูกยาสูบขาย" หลังจากที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพ เสด็จกลับถึงกรุงเทพฯทรงยืนยันถึงประโยชน์ ของการไป ครั้งนี้ว่าสามารถหาคนไปรับราชการ ในเมืองเพชรบูรณ์ได้ ง่ายกว่าสมัยก่อนมาก
ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลรวบรวมหัวเมืองต่างๆ เข้าเป็นมณฑล ในปี พ.ศ. 2436 และในปี พ.ศ. 2440 เมืองเพชรบูรณ์ได้ยกฐานะเป็นมณฑลเพชรบูรณ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด ดำรงตำแหน่ง สมุหเทศบาลอำเภอหล่มสัก ยกฐานะเป็น จังหวัดหล่มสักใน พ.ศ. 2447 มณฑลเพชรบูรณ์ถูกยุบไป ขึ้นกับมณฑลพิษณุโลก แต่ได้รับการ แต่งตั้งอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2450 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ยุบเมืองเพชรบูรณ์ไปขึ้นกับมณฑณพิษณุโลก มีฐานะเป็นเมือง เพชรบูรณ์ตามเดิม มีการยกเลิกมณฑณ ต่างๆ เมื่อมีพระราชพิธีราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาษาถิ่น 


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประวัติเพชรบูรณ์


จังหวัดเพชรบูรณ์ มีประชากรที่เป็นคนพื้นบ้านซึ่งพูดภาษาถิ่นที่แตกต่างกันแต่ละท้องที่ นอกจากนี้ยัง มีประชากรที่อพยพจากส่วนต่าง ๆ ของประเทศไทยใช้ภาษาถิ่นเดิมของตน และชาวไทยภูเขาที่พูดภาษาของ เผ่าตน จึงทำให้วัฒนธรรมทางภาษาถิ่นของเพชรบูรณ์มีความหลากหลาย ภาษาถิ่นที่ใช้กันในจังหวัด เพชรบูรณ์ สรุปได้ดังนี้ 

๑. กลุ่มภาษาหล่ม เป็นภาษาถิ่นที่ใช้กันในเขตอำเภอตอนบน ได้แก่ อำเภอหล่มเก่า อำเภอหล่มสัก อำเภอน้ำหนาว ประชากรในเขตพื้นที่นี้ส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นเดิม ภาษาพูดเป็นภาษาถิ่นดั้งเดิมครั้งอพยพ มาจากเมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว ภาษาหล่มมีการใช้ศัพท์คล้ายกับภาษาไทยอิสาน แต่แตกต่างกันที่ สำเนียง ภาษาหล่มจะมีสำเนียงคล้ายกับภาษาลาวที่ใช้พูดในเมืองหลวงพระบาง ในตำบลต่าง ๆ ในแต่ละ อำเภอ สำเนียงพูดจะแตกต่างกัน เล็กน้อย แต่ภาษาสื่อสารกันได้เพราะใช้ศัพท์ใกล้เคียงกัน ปัจจุบันความ สะดวกทางการคมนาคมและการใช้ภาษาไทยถิ่นกลาง จึงทำให้ภาษาไทยถิ่นกลางปะปนกับภาษาหล่ม เช่น พูดสำเนียงภาษาหล่มโดยใช้ศัพท์ภาษาไทยถิ่นภาคกลาง 


๒. กลุ่มภาษาเพชรบูรณ์ กลุ่มภาษานี้จะพูดกันในเขตอำเภอเมืองเป็นภาษาที่มีสำเนียงเป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว คำศัพท์ที่ใช้มีทั้งภาษาถิ่นไทยกลาง และภาษาเพชรบูรณ์ 


๓. กลุ่มภาษาเพชรบูรณ์ตอนใต้ คือ ภาษาที่ใช้กันในเขตอำเภอตอนใต้ซึ่งได้แก่ อำเภอบึงสามพัน อำเภอวิเชียรบุรี อำเภอศรีเทพ ภาษาที่ใช้พูดจะแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ ภาษาถิ่นไทยภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่จะ เป็นคนท้องถิ่นเดิม และภาษาพูดอีกกลุ่มหนึ่งคือ ภาษาอิสาน ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่เป็นประชากรที่อพยพมา จากจังหวัดต่าง ๆ ของภาคอิสาน แต่ประชากรส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาเพชรบูรณ์ตอนใต้ได้ทั้งสองกลุ่ม ภาษา 


๔. กลุ่มภาษาถิ่นไทยกลาง เป็นภาษาที่ใช้พูดทั่วไปในเขตจังหวัดเพชรบูรณ์ เพราะเพชรบูรณ์เป็นเมือง ที่มีประชากรมาจากหลายท้องที่อพยพเข้ามา จึงใช้ภาษาถิ่นไทยกลางในการสื่อสาร แต่การใช้ภาษาจะมี ศัพท์ภาษาเดิมผสมผสานกันบ้าง 


๕. ภาษากลุ่มชาวบน ชาวบนเป็นกลุ่มชนดั้งเดิมของเพชรบูรณ์ สืบเชื้อสายมาจากละว้า มีภาษาพูด เป็นภาษาชาวบน ซึ่งคำศัพท์แตกต่างไปจากภาษากลุ่มอื่น ๆ ปัจจุบันประชากรเชื้อสายชาวบนเป็นชนกลุ่ม น้อย มีชุมชนอยู่ที่บ้านน้ำเลา บ้านห้วยไคร้ อำเภอเมือง และบ้านท่าด้วง อำเภอหนองไผ่ 


๖. ภาษากลุ่มชาวเขา ลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดเพชรบูรณ์มีรูปร่างคล้าย กะทะ มีภูเขาล้อมรอบ ทุกด้าน จึงมีประชากรส่วนหนึ่งอาศัยอยู่บนเขา ชาวเขาในจังหวัดเพชรบูรณ์ประกอบด้วยชาวเขาเผ่าม้งเป็น ส่วนใหญ่ และเผ่าอื่น ๆ เช่น ลีซอ เป็นต้น 
เมื่อจะศึกษาว่าเมืองหล่มสักนั้นมีวิวัฒนาการมาอย่างไรและก่อนที่จะรู้จักกับเมืองหล่มสักในด้านอื่น ๆ ขั้นแรกนั้นควรจะต้องทำควารู้จักกับชนท้องถิ่นพื้นเมืองหล่มสักก่อนว่า มีประวัติความเป็นมาและมีลักษณะอุปนิสัยและการดำรงชีพและอื่น ๆ ก่อน
ในจังหวัดเพชรบูรณ์นั้นมีชนพื้นเมืองที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรม เชื้อชาติและ ภาษาที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอยู่ ๒ อำเภอ ประกอบด้วยอำเภอหล่มเก่าและอำเภอหล่มสัก กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้สันนิษฐานว่าเป็นพวกลาวพุงดำ(นิยมสักลายตั้งแต่ขาท่อนบนขึ้นไปถึงเอว) สืบเชื้อสายมาจากหลวงพระบาง ทั้งนี้สำเนียงภาษาเหมือนกันทุกอย่าง จึงน่าสันนิษฐานว่าชนกลุ่มนี้เข้ามาแต่เมื่อไรและเข้ามาทางไหน ตามคำบอกเล่าและพิจารณาตามหลักฐานในท้องถิ่น น่าจะอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแถบนี้ตั้งแต่สมัยโบราณ อาจจะก่อนสมัยสุโขทัยก็เป็นได้ เพราะในสมัยสุโขทัยยังปรากฏชื่อเสียง เมืองลุ่มหรือเมืองหล่ม หรือเมืองลมบาจาย อยู่ในท้องที่จังหวัดเพชรบูรณ์ตอนเหนือน่าจะเป็นเมืองหล่มเก่า ปัจจุบันในบ้านเมืองบริเวณนี้มีซากวัดวาอารามกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป แต่ปรักหักพังยากแก่การจะพิสูจน์ได้ ในสมัยพระเจ้าพีล่อโก๊ะแห่งน่านเจ้า ได้ส่งขุนลอโอรสมาสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นมาใหม่เรียกว่าเมืองเซา(หลวงพระบาง) ผู้คนจากหลวงพระบางอาจจะเคลื่อนย้ายตามลำน้ำโขงลงมา บางพวกอาจจะเข้าไปในทางน้ำปาดแสนตอ ท่าสัก เข้าสู่นครไทย และบางพวกเข้ามาทางจังหวัดเลยและเข้ามาทางเมืองแก่นท้าว ด่านซ้าย เข้าสู่หล่มเก่า หล่มสัก พบดินแดนอุดมสมบูรณ์จึงปักหลักตั้งถิ่นฐานเป็นกลุ่มเป็นก้อน อยู่ทางตอนเหนือของลุ่มน้ำป่าสักและสาขา ชนกลุ่มนี้มีความรักความสามัคคีกันเป็นอันดี รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมไว้ โดยเฉพาะภาษาพูด การแต่งกายและความเชื่อต่าง ๆ ในหมู่บ้านใหญ่ ๆ จะมีศาลเจ้าพ่อ มีนางเทียม เสื้อเมืองทรงเมือง ตำแหน่งเจ้าพ่อต่าง ๆ นั้น จะมีเจ้าพ่อใหญ่ เจ้าพ่อทหาร อุปฮาด เมืองกลาง หลวงศรี ศรีหวงษ์ 
ลูกสมุนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้า มีเครื่องศาตราวุธ เช่น หอก ดาบ ของ้าว และฉัตร ชาวบ้านจะเคารพนับถือมากในเดือนหกของทุกปีจะมีการทำบุญเลี้ยงบ้านตามศาลเจ้าพ่อต่าง ๆ จากชื่อของเจ้าพ่อต่าง ๆ อาจจะพิจารณาและเทียบดูได้ว่าน่าจะเป็นตำแหน่งทางการปกครองในสมัยโบราณของชนพื้นเมืองหล่มสัก 
สาเหตุของชนพื้นเมืองหล่มสักซึ่งมักจะรวมกันเป็นกลุ่มไม่ค่อยจะแพร่กระจายไปที่ใด ส่วนมากจะขยายออกไปเป็นบริเวณแคบในท้องถิ่น ทั้งนี้เป็นเพราะ
    ๑. ทางเดินลำบากมีแต่เทือกเขาล้อมรอบ และเป็นชัยภูมิป้องกันข้าศึกรุกรานตามธรรมชาติ
    ๒. เป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ จึงไม่อยากอพยพไปอยู่ที่อื่น
    ๓. ทางตอนใต้ลงมาอาจจะเป็นดินแดนที่ขอมปกครองในเขตเมืองศรีเทพ


เมืองลุ่มนี้นี้มาปรากฏมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ เพราะเกิดมีกบฎเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ส่งเจ่าราชวงศ์คุมกองทัพส่วนเนึ่งมายึดเมืองลุ่มอุปฮาดเจ้าเมืองลุ่มมีกำลังน้อย จึงต้องยอมสวามิภักดิ์ต่อเจ้าราชวงศ์ เมื่อกองทัพพระยาอภัยภูธร กับพระยาพิชัยมาถึงเมืองลุ่ม นายคงชาวพื้นเมืองลุ่มได้อาสานำทัพพระยาอภัยภูธรติดตามทัพกบฎไปทันกันที่เมืองหนองบัวลำภู เขตจังหวัดอุดรธานี ทัพไทยจับเจ้าเมืองหรืออุปฮาดเมืองลุ่มได้แล้วสำเร็จโทษ ตำแหน่งอุปฮาดจึงว่างลง ทางราชการพิจารณาความชอบของนายคงเห็นว่าควรบำเหน็จรางวัลด้วยตำแหน่ง อุปฮาด และบรรดาศักดิ์ให้สูงขึ้น ดังนั้น นายคงจึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ว่า “พระสุริยะวงศาชนะสงครามรามภักดีวิริยะ กรมพาหะ” จากนั้นท่านได้เดินทางกลับจากกรุงเทพฯ มายังเมืองลุ่มหรือเมืองหล่ม ได้ผ่านบ้านท่ากกโพธิ์ซึ่งอยู่ใต้เมืองลุ่มเดิม(หล่มเก่า)ลงมา เห็นว่าดินแดนแห่งนี้อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิอันเหมาะที่จะเป็นเมืองได้จึงย้ายเมืองหล่มมาตั้งขึ้นใหม่ที่บ้านท่ากกโพธิ์ ซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำป่าสัก จึงให้ชื่อว่า เมืองหล่มศักดิ์ ราว พ.ศ. ๒๔๔๐ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมืองหล่มสักได้รับยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดหล่มสัก ส่วนอำเภอในเมืองให้ชื่อว่า หล่มเก่า มาจนถึงทุกวันนี้ ต่อมาเมืองถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชการที่ ๗ เกิดวกฤตการข้ายากหมากแพงขึ้น จังหวัดหล่มสักจึงถูกลดฐานะลงมาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์มาจนถึงทุกวันนี้.....

บริเวณราบลุ่มที่มีเทือกเขาเพชรบูรณ์ล้อมขนาบทั้งสามด้าน คือ เขตอำเภอหล่มเก่าและอำเภอหล่มสัก เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารต่าง ๆ มากมาย และในอดีตในบริเวณเหล่านี้ก็มีความเป็นมายาวนานนับหลายร้อยปี ชื่อเมืองลุ่มหรือเมืองหล่มได้ปรากฏในนิทานหรือตำนาน เรื่อง ท้าวคัชนาม ซึ่งเป็นนิทานของราชอาณาจักรล้านช้าง ตามเนื้อเรื่องในบางสำนวนเล่าว่า ท้าวคัชเนก และ ท้าวคัชจันทร์ บุตรของท้าวคัชนามเป็นผู้มีอิทธิฤทธิ์มาก ทั้งสองวิวาทกันทำศึกจนสะเทือนไปทั้งโลกและจักรวาล เดือดร้อนไปถึงหมู่เทพเทวา เทวดาทั้งหลายจึงไปเฝ้าพญาแถนให้มาห้ามทัพ พญาแถนเล็งเห็นว่าท้าวคัชเนกนั้นสิ้นบุญมีชะตาขาดแล้ว จึงบันดาลลมมีดแถ(มีดโกน) ไปยังกองทัพของทั้งสองพี่น้อง ลมมีดแถก็ฟันถูกท้าวคัชเนกสิ้นชีวิตตกลงบนแผ่นดิน ร่างท้าวคัชเนกกลายเป็นภูเขาชื่อว่า “ภูจอมสี” เป็นภูเขาอยู่กลางเมืองหลวงพระบาง ศีรษะตกลงดินกลายเป็นพระยานาค เลือดตกลงมาเป็นก้อนสีแดง เรียกว่า “ภูครั่ง” ร่างส่วนหนึ่งตกลงมากระทบแผ่นดินเป็นหลุมใหญ่ในหุบเขา ภายหลังกลายเป็นเมืองเรียกว่า “เมืองลุ่ม” หรือเมืองหล่มเก่าและเมืองหล่มสัก
(ธวัช ปุณโณทก. สารานุกรมศิลปวัฒนธรรม)
เทศกาลงานบุญประเพณีสำคัญของอำเภอหล่มสัก

งานนมัสการรอยพระพุทธบาท วัดศรีมงคล ชาวบ้านเรียก งานพระบาทวัดกลาง เป็นเทศกาลประเพณีที่จัดสืบเนื่องมาไม่ต่ำกว่า 80 ปี เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นในเมืองหล่มสักยังไม่มีรอยพระพุทธบาท ปลัดเทศ ปลัดจังหวัดหล่มสักในสมัยนั้นได้ทำจำลองรอยพระพุทธบาทเข้าใจว่าได้จำลองมาจากจังหวัดสระบุรีเมื่ออัญเชิญมาที่เมืองหล่มสักชาวบ้านต่างก็ดีใจหลั่งไหลกันเข้ามานมัสการจึงเกิดเป็นประเพณีขึ้นในระหว่างวันเพ็ญเดือน ๓ ของ
ทุก ๆ ปี งานเทศกาลเส็งกลอง ล่องโคมไฟ ไหว้พ่อขุนผาเมือง จัดงานในระหว่างวันขึ้นปีใหม่ของทุกปี เพื่อระลึกถึงองค์พ่อขุนผาเมือง ในงานมีการเส็งกลอง หมายถึง การแข่งขันตีกลอง ส่วนมากจะเป็นกลองยาวชาวบ้านเรียกว่ากลองหาง ล่องโคมไปเดิมนั้นนิยมจุดโคมในช่วงออกพรรษาลักษณะเหมือนกับโคมที่จุดในเทศกาลยี่เป็งของเชียงใหม่เพื่อเป็นพุทธบูชา ในงานก็จะมีการจุดโคมให้ลอยขึ้นไปบนท้องฟ้าดูสว่างไสวระยิบระยับสวยงาม
เทศกาลและประเพณี

เป็นที่ทราบแล้วว่าชาวพื้นเมืองหล่มสักนั้นสืบเชื้อสายมาจักรอาณาจักรล้านช้างโดยเฉพาะหลวงพระบางเป็นส่วนมากเฉพาะในเมืองหล่มสักนั้นชนที่เป็นเชื้อสายหลวงพระบางนั้นมีประมาณ ๗๐% นอกนั้นที่เหลือเป็นชนเชื้อสายเวียงจันทร์อันได้แก่ชาว ต.บ้านหวาย ต.บ้านติ้ว ต.ห้วยไร่ ฯลฯ ข้อนี้จะแยกแยะได้โดยสำเนียงการพูดที่จะแตกต่างกันอยู่บ้างเล็กน้อยถ้าใครเป็นคนหล่มแล้วก็จะพอทราบ เมื่อจะพูดถึงประเพณีแล้วก็ต้องพูดถึงจารีต “ฮีตสิบสองคองสิบสี่” ฮีต ก็คือ จารีต ส่วนคำว่า คอง ก็คือ ข้อวัตรปฏิบัติ ในสมัยโบราณอาณาจักรล้านช้างก็ใช้ฮีตสิบสองนี้เป็นระเบียบการปกครองชาของชาวบ้าน ส่วนคองสิบสี่นั้นเป็นระเบียบหรือข้อวัตรของพระมหากษัตริย์หรือพระสงฆ์ เมื่อทราบแล้วว่าฮีตกับคองนั้นคืออะไร ดังนี้เองทำให้ชาวหล่มสักยังคงมีฮีตหรือจารีตที่นิยมปฏิบัติกันอยู่ในปัจจุบัน ฮีตสิบสอง ก็หมายถึงจารีตสิบสองเดือนนั่นเอง ตัวอย่างเช่น


ฮีตที่หนึ่ง เดือนเจียง (เดือนอ้าย) บุญเข้ากรรม

ฮีตหนึ่งนั้น เถิงเมื่อเดือนเจียงเข้ากลายมาแถมถ่าย
ฝูงหมู่สังฆเจ้าก็เตรียมเข้าอยู่กรรม
มันหากธรรมเนียมนี้ถือมาตั้งแต่ก่อน
อย่าได้ละห่างเว้นเข็ญสิข้องแล่นนำ

การเข้ากรรมนั้น หรือ เรียกว่าอยู่ปริวาสกรรมนั้นเป็นพิธีกรรมเพื่อให้ภิกษุผู้กระทำความผิดอาบัติขั้นสังฆาทิเสสได้สารภาพต่อหน้าหมู่สงฆ์ ความจริงแล้วพิธีนี้เป็นสังฆกรรมคือเป็นเรื่องของพระโดยตรง แต่ญาติโยมก็ได้ถือโอกาสนี้กระทำบุญซึ่งถือว่าได้บุญมาก
ฮีตที่สอง เดือนยี่ บุญคูณลาน

ชาวหล่มเรียกว่าบุญข้าวเปลือกชาวบ้านจะนำขย้าวเปลือกใส่กระบุงหาบมาแล้วมากองเทรวมกันไว้ที่วัดนิมนต์พระมาสวดมนต์เย็นและฉันเช้า เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ข้าวเปลือก เมื่อพระฉันเช้าแล้ว ก็ทำพิธีสู่ขวัญข้าว 
ฮีตที่สาม เดือนสาม บุญข้าวจี่

ในมื้อเพ็ง (วันเพ็ญ) ให้ทำบุญข้าวจี่และบุญมาฆบูชา เริ่มพิธีทำบุญข้าวจี่ในตอนเช้า โดยใช้ข้าวเหนียวปั้นหุ้มน้ำอ้อย นำไปปิ้งหรือจี่พอเกรียมแล้วชุบด้วยไข่ย่างไฟจนสุกแล้วใส่ภาชนะ ไปตั้งไว้ในหอแจก(ศาลา) นิมนต์พระมาให้ศีลแล้วนำข้าวจี่ใส่บาตรนำถวายแด่พระภิกษุสงฆ์พร้อมกับอาหารอื่น เมื่อพระฉันเสร็จแล้ว มีการแสดงธรรมเทศนา ข้าวจี่ที่เหลือจากพระฉันก็แบ่งกันรับประทานถือว่าเป็นมงคล ปัจจุบันบุญข้าวจี่นี้ไม่ค่อยนิยมถือปฏิบัติกันในเมืองหล่ม
ฮีตที่สี่ เดือนสี่ บุญพระเวส(เทศน์มหาชาติ)

ทำบุญพระเวสฟังเทศน์มหาชาติ 
มูลเหตุเนื่องมาจากพระคัมภีร์มาลัยหมื่นและมาลัยแสนว่า ถ้าผู้ใดปราถนาที่จะได้พบพระศรีอริยเมตไตย์ หรือเข้าถึงศาสนาของพระพุทธเจ้าแล้ว จงอย่าฆ่าตีบิดามารดาสมณชีพราหมณ์ อย่ายุยงให้พระสงฆ์แตกสามัคคีกัน กับให้อุตส่าห์ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องพระมหาเวสสันดรชาดกให้จบสิ้นภายในวันเดียว งานบุญพระเวสนี้ นิยมจัดกันอย่างน้อย 2 วัน วันแรกเรียกว่า มื้อดาหรือมื้อโฮม ชาวบ้านและพระสงฆ์สามเณรจะต้องช่วยกันประดับประดาบริเวณวัด ด้วยต้นกล้วยต้นอ้อย ช่อธง ดอกบัวที่ทำมาจากไม้ ครื่องร้อยเครื่องพัน และสิ่งอื่น ๆ มากมาย ในสมัยโบราณจะมีการแห่พระเวสเข้าเมืองด้วยโดยจะมีผู้แต่งกายเป็นพระเวสสันดรและนางมัทรี ชาลีกัณหาท้าวสญชัยและนางผุสดี ชูชกและอื่น ๆ จะแห่ด้วยขบวนช้างและม้าแห่แหนไปรอบเมืองแล้วกลับมายังวัดในปมู่บ้านเพื่อทำการเฉลิมฉลอง ในตอนเย็นก็จะมีการแห่พระอุปคุต โดยการไปทำพิธีที่ท่าน้ำโดยชาวบ้านจะนิมนต์พระสงฆ์เป็นผู้นำไปกล่าวอัญเชิญพระอุปคุตจากท่าน้ำโดยการงมเอาหินในน้ำ สมมติว่าเป็นพระอุปคุตแล้วแห่แหนเข้ามายังวัดอัญเชิญขึ้นไว้บนศาลเพียงตาที่ปลูกไว้บริเวณวัดพร้อมด้วยเครื่องบริขารต่าง ๆ ด้วยเชื่อว่าพระอุปคุตเป็นผู้ที่มีฤทธิ์ที่จะช่วยปกป้องคุ้มครองมิให้เกิดสิ่งไม่ดีไม่งามขึ้นภายในงาน ตกเย็นก็มีการเจริญพุทธมนต์ เสร็จแล้วอาราธนาพระสงฆ์ขึ้นเทศน์ ปารมี ๓๐ ทัศ มาลัยหมื่น มาลัยแสน ด้วยท่วงทำนองพื้นบ้าน เช้าวันต่อมาเวลาประมาณตีห้า ชาวบ้านก็พากันแห่ข้าวพันก้อนทำด้วยข้าวเหนียวปั้นเป็นก้อนถึงพันก้อน เพื่อเป็นการบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว ผู้นำกล่าวอัญเชิญเทวดา อาราธนาธรรมลำมหาชาติด้วยภาษาพื้นบ้าน จากนั้นพระสงฆ์ก็จะเริ่มเทศน์มหาชาติด้วยภาษาและทำนองพื้นบ้าน กัณฑ์แรก คือ กัณฑ์สังกาส และเทศน์กัณฑ์อื่น ๆ ทั้งหมดจนจบภายใน ๑ วัน เมื่อเทศน์จบเหล่าทายกทายิกาชาวบ้านก็ทำการขอสมมาคารวะเป็นภาษาพื้นบ้าน กรวดน้ำรับพรเป็นเสร็จพิธีเทศน์มหาชาติประจำปี(เทศน์มหาชาติของหล่มสัก หล่มเก่า ยึดถือตามประเพณีดั้งเดิม คือ มีทั้งหมด ๑๖ กัณฑ์ เมื่อรวมมาลัยหมื่นและมาลัยแสนด้วยจึงเป็น ๑๘ กัณฑ์) 
ฮีตที่ห้า เดือนห้า บุญปีใหม่(สงกรานต์)

วันสังขารล่วง 
(ชาวอ.หล่มสัก เรียกว่า วันพระเจ้าลง) เป็นวันแรกของงานจะนำพระพุทธรูปลงมาทำความสะอาดและตั้งไว้ ณ สถานที่อันควรแล้วพากันสรงน้ำพระพุทธรูปและพระสงฆ์ด้วยน้ำอบน้ำหอม
วันสังขารเนาว์ 
เป็นวันที่สองของงาน พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุพพการีชนผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว วันเนาว์นี้คนหล่มจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าวันเน่า ประชาชนนิยมที่จะเลิกทำงานในวันนี้ เด็กน้อยก็ถือโอกาสวันนี้เล่นจุดประทัด ส่วนผู้ใหญ่บ้างก็เล่นพลุไฟหรืออื่น ๆ ที่มีเสียงดังในตอนช้าวตรู่ด้วยเชื่อว่าเป็นการขับไล่ความเสนียดจัญไรมิให้เข้ามากร้ำกรายเพืและจะอยู่บ้านทำการปัดกวาด ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย ด้วยมีความเชื่อว่าในวันดังกล่าวนี้จะต้องทำตนและที่อยู่ให้สะอาดเพื่อที่จะเป็นสิริมงคลต่อชีวิตและครอบครัว
วันสังขารขึ้น 
(วันเถลิงศก) เป็นวันที่สามของงาน ทำบุญตักบาตร และรดน้ำดำหัวสมมาคารวะผู้ใหญ่ ส่งท้ายด้วยพิธีบายศรีสู่ขวัญและเล่นสาดน้ำกัน
และในวันเดียวกัน หรือหลังวันนี้หนึ่งวันก็จะมีการแห่ขันดอกไม้ไปสรงน้ำพระยังวัดต่าง ๆ และก่อเจดีย์ทราย และนำธุง(ตุง)ไปแขวนไว้ตามวัดเพื่อเป็นพุทธบูชาและเป็นเครื่องหมายแห่งชัยชนะ
ฮีตที่หก เดือนหก บุญวันวิสาขบูชา และบุญบั้งไฟ
ชาวบ้านจะร่วมกันทำบั้งไฟแห่แหนกันแล้วนำเอาไปจุดเป็นพุทธบชาและขอฝน ผลโดยอ้อมก็เพื่อฝึกฝนให้ประชาชนมีความสามัคคี และให้ประชาชนมีความร่าเริงสนุกสนานก่อนที่จุถึงฤดูทำนา อาจจะมีการเส็งกลองร่วมด้วย บางตำราก็กล่าวว่ามีการฮดสรงน้ำพระพุทธรูปทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้ ตลอดจนมีการถือน้ำพิพัฒน์สัตยาสำหรับเจ้าขุนมูลนายในสมัยโบราณด้วย
ฮีตที่เจ็ด เดือนเจ็ด บุญซำฮะ(บุญเบิกบ้าน)
ทำบุญบูชาเทวดาอาฮักษ์หลักเมือง ทำการเซ่นสรวงหลักเมือง หลักบ้าน นำเอาภาชนะใส่ทรายพร้อมขวดน้ำมนต์ ไปรวมกันนิมนต์พระสังฆเจ้ามาสวดเจริญพระพุทธมนต์ ๓ คืน ในพิธีนี้พระสงฆ์จะสวดมนต์บทพิเศษตามประเพณีท้องถิ่น เช่น จุลชัยยมงคล(ชัยน้อย) และเทศนาอานิสงส์อุณหิสสวิชัย สลาการวิชชาสูตร ทิพมนต์คาถา ปารมี ๓๐ ทัศ เป็นต้น และในวันสุดท้ายของงานในต้อนเช้าชาวบ้านจะนำกระทงที่ทำด้วยต้นกล้วยเรียกว่า กระทงหน้าวัวบรรจุเครื่องสังเวย เช่น ข้าวดำ ข้าวแดง แกงส้มแกงหวาน รูปคนและสัตว์ ธงช่อและธงชัยนำไปทำพิธีส่งเคราะห์หรือเป็นการเซ่นสรวงเทวดา เสร็จพิธี แล้วนำทรายและน้ำพระพุทธมนต์ไปโรยและพรมที่บริเวณรอบบ้านเป็นศิริมงคลและเชื่อว่าจะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์
ฮีตที่แปด เดือนแปด บุญเข้าวัสสา(พรรษา)

ฮีตหนึ่งนั้นพอเถิงเดือนแปดได้ล้ำล่วงมาเถิง
ฝูงหมู่สังโฆคุณ เข้าวัสสาจำจ้อย
ทำตามฮอยของเจ้าโคดมทำก่อน
บ่ทะลอนเลิกม้างทำแท้สู่ภาย
มีการทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหาร ฟังธรรมและถวายเทียนและผ้าจำนำพรรษา ฯลฯ
ฮีตที่เก้า เดือนเก้า บุญข้าวประดับดิน
นำเอาข้าวและอาหารคาวหวานพร้อมทั้งหมากพลูบุหรี่ ห่อด้วยใบตองแล้วนำไปไว้ตามต้นไม้และพื้นหญ้า เพื่ออุทิศให้แก่บรรดาญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยกำหนดวันแรกสิบสี่ค่ำเดือนเก้า ต่อมาภายหลังนิยมทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระสงฆ์และสามเณรพร้อมกันไปด้วย
ฮีตที่สิบ เดือนสิบ บุญข้าวสาก(สลากภัตร)

นำเอาอาหารคาวหวาน เช่น กระยาสารท กล้วย อ้อย หอมกระเทียม พริก น้ำปลา หมากพลูบุหรี่ ฯลฯ นำบรรจุลงในภาชนะที่เรียกว่า กวย(ชลอม) แล้วนำไปที่วัดกองรวมกันไว้ เขียนฉลากให้พระเณรจับรูปใดจับได้กองใดก็ถวายพระเณรรูปนั้น และอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว
ฮีตที่สิบเอ็ด เดือนสิบเอ็ด บุญออกวัสสา(พรรษา)

ฮีตหนึ่งนั้นเถิงเดือนสิบเอ็ดแล้วก็เป็นแนวทางป่อง 
เป็นช่องของพระเจ้าคนเข้าแล้วออกมา 
เถิงวัสสามาแล้วสามเดือนก็เลยออก 
เฮียกว่า ออกพรรษาปวารณากล่าวไว้เฮาได้เล่ามา
ทำบุญออกพรรษา หรือสังฆเจ้าออกวัสสาปวารณา มีการทำบุญตักบาตร ทั่วไปและทำบุญตักบาตรเทโว และมีการตามประทีปโคมไฟในวันนี้บนท้องฟ้าตามหน้าบ้านหรือวัดวาอารามจะสว่างไสวไปด้วยแสงประทีป ที่ชาวบ้านจุดเพื่อเป็นพุทธบูชา ในบางวัดอาจจะมีการจัดงานลอยกระทง หรือไหลเรือไฟในเทศกาลนี้ด้วย
ฮีตที่สิบสอง เดือนสิบสอง บุญกฐิน


เป็นเดือนส่งท้ายปีเก่าตามคติเดิมมีการทำบุญกองกฐิน ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันแรมหนึ่งค่ำเดือนสิบสอง หลังจากวันเพ็ญเดือนสิบสองแล้วจะทอดกฐินอีกไม่ได้ บุญเดือนสิบสองที่สำคัญชุมชนที่อยู่ริมแม่น้ำ ก็คือการ”ซ่วงเฮือ” (แข่งเรือ) เพื่อบูชาอุสุพญานาค ๕ ตระกูลปัจจุบันนี้มีเพียงบางวัดเท่านั้นที่จัดการแข่งเรือ อย่างเช่น วัดทุ่งธงชัย อ.หล่มเก่า เป็นต้น
ใผผู้ทำตามนี้ เจริญดียอดยิ่ง ทุกสิ่งมี บ่ไฮ้ทั้งเข้าหมู่ของ
กรรมบ่ถืกต้องลำบากในตัว โลกบ่มีมัวหมองอย่างใดพอดี้

มีแต่สุขีล้นครองคนสนุกยิ่ง อดให้หลิงป่องนี้เด้เจ้าอย่าสิลัย

ทั้งนี้รายละเอียดยังมีอีกมากเพราะแต่ละประเพณียังมีข้อปฏิบัติมากมายเนื้อหาและความหมายที่ลึกซึ้งเป็นปรัชญาแบบฉบับของชาวบ้านที่ยังเชื่อถือปฏิบัติเพื่อให้เข้าใกล้พระพุทธศาสนาให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ส่วนคองสิบสี่นั้นเป็นข้อวัตรหรือจริยาวัตรของพระมหากษัตริย์ลักษณะคล้าย กับทศพิธราชธรรมของศาสนาพุทธเราก็จะไม่ขอนำมากล่าวในที่นี้
ประเพณีเกี่ยวกับความตาย

พิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการตายของชาวหล่มสักนั้น มีระเบียบพิธีปฏิบัติที่แตกต่างจากถิ่นอื่นบ้างบางส่วน ดังนี้
แต่เดิมนั้นไม่นิยมเก็บศพไว้นานส่วนมากเมื่อมีผู้เสียชีวิตแล้วก็นิยมหามไปป่าช้า เพื่อที่จะฝังการฝังศพนิยมนำเอาทรัพย์สินและของมี่ค่า เช่น สร้อย แหวนกำไล พระเครื่อง มีดดาบ เป็นต้น ฝังลงไปด้วย ส่วนผู้ที่มีฐานะทางสังคมก็นิยมทำการเผาแทนการฝัง และนิยมทำปราสาทศพ ภาษาหล่มสักเรียกว่า หอศพ ที่ทำจากไม้เป็นโครงมีฐานสามชั้นซ้อนกัน และหลังคาสามชั้นมีหน้าจั่วและเสาค้ำสี่เสา ประดับด้วยกระดาษเงินและทองและกระดาษสีต่าง ๆ ส่วนหีบศพก็ทำมาจากไม้กระดาน ปัจจุบันนิยมใช้ไม้อัดแทน การประกอบปราสาทศพนี้ก็เป็นฝีมือของช่างพื้นบ้าน ส่วนวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับผู้ตายนั้น เช่น การอาบน้ำศพ เอาขี้ผึ้งปิดตาศพ การนอนเสี้ยนหนาม การเบิกโลง การมัดตาสังคนหล่มเรียกว่า “การดอยศพ” ล้วนเป็นวิธีปฏิบัติที่เคร่งครัดและแฝงไปด้วยปรัชญาคำสอนเกี่ยวกับชีวิต ปัจจุบันนิยมเก็บศพไว้อย่างน้อย สามคืน แล้วแต่ฐานะ ส่วนศพที่ตายโหงไม่นิยมเผาแต่จะแก้เคล็ดโดยวิธีแกล้งฝังแล้วขุดขึ้นมาเผา ส่วนพิธีสงฆ์ทางพุทธศาสนานั้นก็มีระเบียบปฏิบัติไม่ต่างจากภาคกลางมากนัก นิยมนิมนต์พระสงฆ์อย่างน้อย ๘ รูปสวดพระอภิธรรมในตอนกลางคืนและนิมนต์พระสงฆ์สี่รูปสวดอภิธรรมมัตถสังคหะ โดยตั้งเครื่องบูชาเรียกว่า
“คายธรรม” ใส่ถาดหรือพานวางไว้ด้านข้างตู้อภิธรรม ประกอบด้วย ข้าวตอก ข้าวสาร กล้วย อ้อย และอื่น ๆ และมีการจุดเทียนบูชาคาถาเช่นในปริเฉทที่ หนึ่ง มีสิบสี่คาถาก็จะจุดเทียนบูชาสิบสี่เล่ม เป็นต้น และถวายภัตตาหารในตอนเช้าทุกเช้าในขณะที่ศพอยู่บนบ้าน ในวันเผาประชาชนชาวบ้านจะนิยมเดินทางมาร่วมงานกันมากเป็นพิเศษกว่าวันอื่น ๆ ทั้งในและนอกหมู่บ้าน จำนวนหลายร้อยหลายพันคนทีเดียว แต่เดิมจะต้องเคลื่อนศพไปเผาที่ป่าช้าโดยชาวบ้านจะต้องช่วยกันไปหาหลัวหาฟืนมาจากป่าสำหรับก่อกองฟอน(เชิงตะกอน)ขึ้น เสร็จแล้วประดับด้วยกระดาษสีต่าง ๆ เป็นลวดลายพร้อมกับนำกาบกล้วยมาแกะสลักเรียกว่า แทงหยวก เป็นลวดลายสลับกับกระดาษเงินกระดาษทองอย่างงดงาม แต่ในปัจจุบันตามวัดต่าง ๆ มีเมรุก็ใช้ในการฌาปนกิจ ชาวบ้านจึงพากันหันมาประกอบพิธีฌาปนกิจศพที่วัดแทน ในวันเผาศพเจ้าภาพนิยมบวชลูกหลานหรือญาติของผู้ตายเป็นสามเณร เรียกว่า “บวชลูกแก้ว” หรือถ้าผู้ตายไม้มีบุตรหลานก็จะต้องไปนิมนต์สามเณรที่วัดเรียกว่าบูชาหรือ “ซื้อลูกแก้ว” ก่อนที่จะเคลื่อนศพลูกหลานและญาติ ๆ ก็จะทำการสมมา(ขอขมา)ศพ นิมนต์พระสงฆ์หนึ่งหรือสองรูปสวดยอดมุขนำหน้าขบวนศพสมัยก่อนใช้การเคลื่อนศพด้วยการหามโดยขอกำลังญาติผู้ชายหลาย ๆ คนช่วยกันถือว่าเป็นการให้เกียรติผู้ตายยิ่งผู้ตายนั้นมีผู้ที่มีคนเคารพนับถือมากก็จะมีคนร่วมในขบวนเคลื่อนศพมาก และมีการหว่านข้าวตอกนำหน้าศพโดยจะใช้ผู้ที่มีอายุมากเป็นผู้หว่านเป็นปริศนาธรรมอีกข้อหนึ่ง
วัฒนธรรมประเพณีและความเชื่อ



ประเพณีการแต่งงาน(กินดอง)

ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตคู่หรือการมีคู่ครองของชาวหล่มนั้น ก็คล้ายกับคนไทยทั่วไปซึ่งถือว่าเป็นประเพณีอันดีงามที่คนไทยได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน การแต่งงานหรือมงคลสมรสของคนหล่มนั้นเรียกว่า งานกินดอง คือ งานที่มีการกินเลี้ยงกันฉลองการที่จะเป็นดองกันระหว่างสองครอบครัวจะได้เป็นทองแผ่นเดียวกันนั่นเอง แต่เดิมนั้นพ่อแม่จะเป็นผู้ที่เลือกคู่ครองให้ ซึ่งลูกหลานชาวหล่มก็จะเชื่อฟังผู้ที่เป็นพ่อแม่จะไม่มีการขัดแย้งใด ๆ เลยแต่พ่อแม่ก็จะให้ผู้เป็นลูกนั้นตัดสินใจด้วยตนเองว่าจะเลือกคู่ครองที่พ่อแม่ หาให้หรือไม่ หนุ่มสาวชาวหล่มตั้งแต่โบราณ มักที่จะทำความรู้จักกันส่วนมากตามงานบุญต่าง ๆ หนุ่ม - สาวจะถือโอกาสมาพบปะพูดคุยกันเพราะพ่อแม่ก็จะอนุญาตเฉพาะงานบุญเท่านั้น ส่วนในเวลาอื่นก็ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงออกบ้านในเวลากลางคืน ในคืนเดือนหงายผู้หญิงชาวหล่มก็จะลงเข็ญฝ้ายที่ใต้ถุนบ้าน เรียกว่าลงข่วงเข็ญฝ้ายจะเป็นโอกาสของชายหนุ่มที่จะมีโอกาสเกี้ยวพาราสีกับหญิงสาวที่ตนรักโดยชายหนุ่มจะเดินทางไปที่บ้านของหญิงสาวโดยจะเป่าแคนหรือดีดพิณไปอาจจะไปกับเพื่อนด้วย เมื่อถึงบ้านของหญิงสาวแล้วได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ของฝ่ายหญิงให้เข้าไปในบริเวณบ้านได้และอนุญาตให้พูดคุยกับลูกสาวของท่านได้ ก็จะเป็นโอกาสที่หนุ่มสาวจะได้พูดคุยกัน พูดจากเกี้ยวพาราสีกันเป็นกาพย์เป็นกลอน ที่เรียกว่า
ผญา โต้ตอบกัน ตัวอย่างเช่น นางเอย ทุกข์บ่มีเสื้อผ้าฝาเฮือนดีพอลี้อยู่ ทุกข์บ่เห็นหน้าน้อง โตอ้ายอยู่บ่เป็น เมื่อทั้งสองมีความชอบพอกันและได้รับอนุญาตจากพ่อแม่ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายมีความพร้อมแล้วจึง ได้พาผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าบ่าวมาสู่ขอตกลงขอหมั้นกันและนัดวันกันว่าจะแต่งในวันไหนโดยจะตกลงกันหาฤกษ์ยาม ส่วนมากนิยมแต่งในวันคู่ และเดือนคู่ เมื่อถึงวันงานจะมีการกินเลี้ยงหรือกินดองกันในโบราณจะนิยมที่บ้านของทั้งสองฝ่าย ฝ่ายเจ้าบ่าวก็จัดเลี้ยงญาติพี่น้องของตน และฝ่ายเจ้าสาวก็จะจัดเตรียมสถานที่ไว้คอยต้อนรับขบวนขันหมากในวันรุ่งขึ้น เจ้าบ่าวก็จะจัดขบวนขันหมากแห่มาบ้านเจ้าสาว
ของกินคนหล่ม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น